ข่าวปลอม! ผู้ที่มีชื่อเป็น ‘เจ้าบ้าน’ ได้รับ เงินเยียวยา 15,000 บาท

ข่าวปลอม! ผู้ที่มีชื่อเป็น ‘เจ้าบ้าน’ ได้รับ เงินเยียวยา 15,000 บาท

จากการรายงานของข่าวที่ว่า ผู้ที่มีชื่อเป็น เจ้าบ้าน จะมีสิทธิ์ได้รับ เงินเยียวยา จำนวน 15,000 บาท พบว่าข่าวดังกล่าวนั้น เป็นข่าวปลอม (23 มิ.ย. 2565) ตามที่มีการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผู้ที่มีชื่อเป็น เจ้าบ้าน ได้รับ เงินเยียวยา 15,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ถึงมาตรการเยียวยารอบใหม่ระบุว่า 

ใครเป็นเจ้าบ้าน รับเงิน 15,000 บาท เริ่มจ่ายวันพรุ่งนี้ รีบดูก่อนเสียสิทธินั้น ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลข้างต้นไม่เป็นความจริง ขณะนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่มีการอนุมัติเงินเยียวยาสำหรับใครที่เป็นเจ้าบ้าน จะได้รับเงิน 15,000 บาท ตามที่มีการแชร์แต่อย่างใด (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2564)

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mof.go.th หรือโทร. 1689

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลที่ถูกนำมาแชร์ไม่เป็นความจริง ขณะนี้ยังไม่มีโครงการเงินเยียวยา 15,000 บาท ตามที่มีการแชร์แต่อย่างใด

ธนาคารกรุงไทย ทำการประกาศถึงการ ปิดปรับปรุง แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ภายในวันที่ 26 มิ.ย. 2565 เวลา 00.00 – 03.00 น. (23 มิ.ย. 2565) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ทำการประกาศถึงการดำเนินการ ปิดปรับปรุง ในส่วนของแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 00.00 – 03.00 น.

โดยเป็นการปิดปรับปรุงเพื่อพัฒนาระบบการทำงานของแอปพลิเคชัน ซึ่งจะเป็นการยกระดับการบริการให้แก่ผู้ใช้งาน ได้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ทางธนาคารกรุงไทยก็มีการขออภัยในความไม่สะดวก แก่ผู้ที่อาจจะมีเหตุจำเป็น หรือใช้งานในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อไปได้ที่ Krungthai Contact Center 02 111 1111

รู้จัก บ้านออมเงิน คืออะไร ? เผยกลโกง ออมเงินดอกเบี้ยสูง ระวังเงินหายวับ

รู้ทันมิจฉาชีพ บ้านออมเงิน คืออะไร ? ออมเงินได้ดอกสูง ล่อใจเหยื่อก่อนเชิดเงินหนี เบื้องหน้าเงินดี ที่แท้ก็แค่แชร์ลูกโซ่นี่เอง เชื่อว่าในช่วงเวลานี้หลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาทางการเงิน ชักหน้าไม่ถึงหลัง จนต้องพึ้งทางเลือกนอกระบบที่แสนจะเสี่ยง หนึ่งในนั้นก็คือ “บ้านออมเงิน” ที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2565 ไฮโซสาวอุบล วัย 25 ปี เปิดบ้านออมเงิน ปันผล 15 วัน ก่อนเชิดเงินหนี สูญเงินกว่า 600 ล้านบาท มีผู้เสียหายกว่า 400 คน ซึ่งนี่ไม่ใช้ครังแรกกับการโดนโกงในรูปแบบ บ้านออมเงิน

เพื่อเป็นการเตือภัย ไม่ให้คนอื่น ๆ โดนโกง วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนมารู้จักกับ บ้านออมเงิน ทริกโกงของมิจฉาชีพ คืออะไร ? ใครหวังเงินก้อน ระวังเงินหายไม่รู้ตัว

เตือนภัย บ้านออมเงิน คืออะไร ? ออมเงินดอกเบี้ยนสูง หวังเงินก้อน ระวังเงินหาย สุดท้ายเป็นแชร์ลูกโซ่

บ้านออมเงิน คือ การชวนลงทุน โดยอ้างว่าเอาเงินมาลงออมไว้กินดอก เป็นกลลวงของมิจฉาชีพ เพียงแค่การฝากเงินเฉย ๆ แบบไม่มีความเสี่ยง แต่จะได้รับผลตอบแทนสูงมาก สม่ำเสมอ และได้เร็วตั้งแต่ครั้งแรก ที่ลงทุน เงินต่อเงิน ที่ไม่ใช่เรื่องของการลงทุนจริง ๆ

เบื้องหลังของการให้ดอกเบี้ยสูงลิบในช่วงแรกคือ การนำเงินของสมาชิกใหม่มาเวียนเป็นผลตอบแทนให้สมาชิกเก่า เพื่อสร้างความหน้าเชื่อถือ แต่เมื่อไม่สามารถหาสมาชิกใหม่มาลงทุนเพิ่มได้ก็จะไม่มีเงินมาจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สัญญาไว้ ในที่สุดก็เริ่มเบี้ยวผลตอบแทน และปิดบ้านไป

ผลตอบแทนสูงเกินจริง ความสำคัญสื่อถึงการสร้างผลตอบแทนที่ได้มาง่าย ๆ ยิ่งลงทุนเยอะ ยิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง เป็นจุดสังเกตหลักที่ต้องเอะใจทันทีที่ได้รับคำเชิญชวนเหล่านี้ เพราะการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูงลิบในระยะเวลาสั้นๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก

อย่างเช่นในกรณีล่าสุดอย่าง  บ้านออมเงิน ชื่อ บ้านฟองน้ำ จ.อุบลราชธานี ที่ไฮโซสาวผู้ต้องหา เชิญชวนผู้ที่สนใจลงทุนออมเงิน โดยให้ผลตอบแทนเป็นกำไรร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์ต่อ 15 วัน และ 10 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 30 วัน นับว่าเป็นกำไรที่ก้าวกระโดดจนแทบจะเป้นไม่ได้เลยในวงการธุรกิจ

ให้ลงทุนเยอะ ๆ แต่ไม่พูดถึงความเสี่ยง ขึ้นชื่อว่าการลงทุน จะมากจะน้อยเท่าไหร่ยังไงก็มีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนการลงทุนจึงมีกฎหมายกำหนดให้ทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น เพื่อให้รู้ว่าทรัพย์สินที่เรากำลังจะลงทุนมีโอกาสขาดทุนอยู่เท่าไร

ดังนั้น คำเชิญชวนลงทุน หรือทำธุรกิจใด ๆ ที่จะนำมาซึ่งผลกำไรสูง ๆ แบบไร้ความเสี่ยงหรือเสี่ยงต่ำแบบไม่สอดคล้องกับผลตอบแทนเป็นอีกหนึ่งสัญญาเตือนว่าคุณนั้นอาจจะกำลังขาดทุนแบบย่อยยับได้ในอนาคต

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป