นกแอร์ ออกโรงชี้แจงกรณีถูกวิจารณ์เรื่อง สาเหตุอพยพผู้โดยสารช้า

นกแอร์ ออกโรงชี้แจงกรณีถูกวิจารณ์เรื่อง สาเหตุอพยพผู้โดยสารช้า

นกแอร์ ออกโรงชี้แจงกรณีถูกโซเชี่ยลวิจารณ์เรื่อง อพยพผู้โดยสารช้า เผย สาเหตุอพยพผู้โดยสารช้า ชี้ฝนตกหนักทำให้ไม่สามารถอพยพได้ทันที สายการบินนกแอร์ได้ออกโรงชี้แจงกกรณีวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการอพยพผู้โดยสารช้าและได้เผยสาเหตุอพยพผู้โดยสารช้าหลังเครื่องบินนกแอร์ไถลออกนอกรันเวย์ ขณะลงจอดที่สนามบิน แม่ฟ้าหลวง เชียงราย เวลา 21.06 น. เคราะห์ดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุครั้งนี้

ทางสายการบินนกแอร์ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

ทั้งการที่อาจจะไม่ได้รับความสะดวก และการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการดูแลอํานวยความสะดวกผู้โดยสารที่ประสบเหตุในครั้งนี้ สายการบินนกแอร์ได้ปฏิบัติตามระเบียบด้านความปลอดภัยสูงสุดในการให้บริการ โดยมีการพิจารณาจากทางลูกเรือบนเที่ยวบิน และได้มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนําผู้โดยสารเที่ยวบิน DD108 ลงจากอากาศยานตามขั้นตอน ด้วยวิธีการใช้ตัวสไลด์ที่ประตูด้านหน้าของอากาศยาน

เนื่องจากไม่สามารถรถนําอุปกรณ์บันไดมาเทียบกับอากาศยานได้ ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว ณ ท่าอากาศแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีฝนตกหนัก พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นดิน มีน้ำขัง ซึ่งอาจสร้างความไม่สะดวกสําหรับผู้โดยสาร หรือมีสัตว์อันตรายอาศัยอยู่โดยรอบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารได้ ลูกเรือจึงจําเป็นต้องแจ้งให้ผู้โดยสารรอบนอากาศยานจนกว่าจะได้รับการยืนยันว่ามีความปลอดภัย

อีกทั้งสายการบินต้องขออภัยในการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน และข้อมูลที่ไม่ชัดเจนในสื่อที่เผยแพร่สู่สาธารณชน เกี่ยวกับการดูแลอํานวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในเครื่องบินดังกล่าว

นกแอร์ ยืนยันว่าทางสายการบินปฏิบบัติตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยสูงสุดสําหรับการให้บริการมาโดยตลอด และจะพยายามแก้ไขและบริหารจัดการเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด และกลับมาให้บริการผู้โดยสารทุกท่านโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ สายการบินนกแอร์ขออภัยในความไม่สะดวกสำหรับทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

สภาพอากาศวันนี้ 2 สิงหาคม 2565 พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น

ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ใว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

แผ่นดินไหวเมียนมา ระดับ 5.1 เขย่าถึงเชียงใหม่เชียงราย

ศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหว เผย แผ่นดินไหวเมียนมา ระดับ 5.1 จุดเดียวกันกับในวันที่ 22 ก.ค. เชียงใหม่ เชียงราย สัมผัสถึงแรงสั่นสะเทือน ศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งข่าวว่าเมื่อช่วงเวลา 23.03 น. ของวันที่ 1 สิงหาคม ได้เกิดแผ่นดินไหวเมียนมาขนาด 5.1 แมกนิจูต มีความลึก 2 กิโลเมตร มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่รัฐฉาน ประเทศเมียนมา และเกิด อาฟเตอร์ช็อกอีกอย่างน้อย 16 ครั้ง วัดความรุนแรงได้ระหว่าง 1.9-3.5 แมกนิจูด และมีรายงานว่าสั่นไปถึงช่วงเช้า

ศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหวยังรายงานอีกว่า ตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันที่ 1 ส.ค.-06.00 น. วันที่ 2 ส.ค. พบแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมาจำนวน 24 ครั้ง โดยมีขนาดตั้งแต่ 1.0-1.9 จำนวน 3 ครั้ง ขนาด 2.0-2.9 จำนวน 17 ครั้ง ขนาด 3.0-3.9 จำนวน 3 ครั้ง และขนาด 5.1 จำนวน 1 ครั้งดังกล่าว

ทั้งนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน อ.เมืองเชียงราย อ.แม่จัน อ.เวียงเชียงรุ้ง อ.แม่ลาว จ.เชียงราย และ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ห่างกับจุดเกิดเหตุราวๆ 80 กิโลเมตร สัมผัสได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในครั้งนี้ได้เช่นเดียวกัน

หากย้อนกลับไปในวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่าพบเหตุแผ่นดินไหวเชียงใหม่ 2 ครั้ง ขนาด 5.1 ในช่วงเวลาประมาณ 23.40 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม และ 6.4 ในช่วงเวลา 00.07 น. ของวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม รวมไปถึงอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้ง จนไปถึงช่วงเวลาประมาณ 1.09 น.

สำหรับจุดศูนย์ของแผ่นดินไหวในครั้งนั้นครั้งแรกอยู่ที่ เมืองเชียงตุง ในรัฐฉาน ของเมียนมา และมีขนาดลึก 4 กิโลเมตร ส่วนครั้งที่สองมีจุดศูนย์กลางใกล้กับจุดแรก และมีความลึก 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับ แผ่นดินไหวเมียนมา ครั้งนี้

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป